|
Steaming Pitcher |
Steaming
Pitcher เหยือกสำหรับทำฟองนม ขนาดของเหยือกมีตั้งแต่ 12-60
ออนซ์ ขนาดที่นิยมใช้ คือ 32 ออนซ์ เท่ากับ 1
ลิตร ซึ่งเพียงพอสำหรับทำฟองนมใส่เครื่องดื่ม 2-3 ถ้วย เหยือกที่ดีควรเป็นเหยือกแสตนเลส มีหูจับ และมีขีดกำหนดปริมาตร
|
Thermometer |
Thermometer เทอร์โมมิเตอร์ใช้สำหรับวัดอุณหภูมิที่เหมาะสมในการทำฟองนมให้ได้ดีที่สุด
เพื่อให้มั่นใจว่าเครื่องดื่มนั้น ได้มาตรฐานเท่ากันทุกครั้งทุกถ้วย
มีความสม่ำเสมอคงที่ เทอร์โมมิเตอร์ที่ดีต้องมีก้านหนีบสำหรับยึดกับเหยือกฟองนม
มีหน้าปัดใหญ่ สามารถแสดงระดับอุณหภูมิชัดเจน มีตัวกำหนดค่าอุณหภูมิอยู่ที่ 0-220 องศาฟาเรนไฮต์
ส่วนอุณหภูมิของฟองนมนั้น เป็นสูตรเฉพาะของแต่ละร้าน
|
Spoon |
Spoon ช้อนสำหรับตักฟองนมที่จะใส่ลงในแก้วกาแฟ
ส่วนการทำเครื่องดื่มลาเต้ จะใช้ช้อนกั้นชั้นกาแฟระหว่างเทฟองนม
เพื่อให้นมไหลลงบนน้ำกาแฟในจังหวะที่เหมาะสม
|
Hand Tamper |
Hand Tamper ใช้สำหรับกดผงกาแฟลงใน Portafilter ในการใช้เครื่องเอสเพรสโซ่ กาแฟเอสเพรสโซ่ที่ดีนั้นจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักของการกดและความละเอียดของผงกาแฟ
|
Shot Glass |
Shot
Glass แก้วชอตใช้สำหรับการรองไหลรินของน้ำกาแฟที่ชงจากเครื่องเอสเพรสโซ่
ควรเป็นแก้วเนื้อบางใส ที่มีขนาดพอดีสำหรับเอสเพรสโซ่ 1 ชอต
หรือ 1 ออนซ์ เพื่อให้ได้กาแฟเอสเพรสโซ่ที่พอดี 1 แก้ว หรือใช้ทำกาแฟสูตรอื่นๆ หรือตวงของเหลว
Shot
Time ความสำคัญของนาฬิกาจับเวลา
คือการกำหนดเวลาที่น้ำและไอร้อนถูกอัดผ่านกาแฟจนหยดออกมาเป็นเอสเพรสโซ่ 1 ช็อด เวลาที่สมบูรณ์ที่สุดจะอยู่ระหว่าง 18-24 วินาที
ต่อผงกาแฟละเอียด 7 กรัม
|
Knockbox |
Knockbox
เป็นภาชนะสำหรับเคาะกากกาแฟออกจาก Portafilter ควรเป็นภาชนะสแตนเลส และมีแกนกลางที่มียางหนาพอสมควร
เพื่อความยืดหยุ่นและสามารถรับแรงกระแทกได้
|
Filter |
Filter
ฟิลเตอร์ หรือกระดาษกรอง ควรใช้ฟิลเตอร์ที่ทำจากกระดาษไม่ฟอกสี
โดยสังเกตุที่เนื้อกระดาษมีสีเหลืองนวง หรือเหลืองอ่อน มีความบางแต่เหนียว
ไม่ขาดหรือเปื่อยยุ่ยง่าย ไม่ควรเลือกฟิลเตอร์ที่เป็นกระดาษฟอกขาว เนื่องจากจะมีกลิ่นของสารฟอกกระดาษออกปนกับกลิ่นและรสชาติของกาแฟแก้วนั้น
ฟิลเตอร์ที่ทำจากกระดาษเนื้อแน่น
หรือหนาเกินไปจะกักเอาน้ำมันในเมล็ดกาแฟออกระหว่างการกรอง ทำให้กาแฟแก้วนั้นไม่หอม
และไม่ได้รสชาติของกาแฟที่สมบูรณ์
ไม่ควรเก็บฟิลเตอร์ปนกับเครื่องเทศ
หรืออาหารที่มีกลิ่นแรงเนื่องจากเนื้อกระดาษจะดูดซับกลิ่นนั้นไว้
ทำให้มีกลิ่นไม่พึงประสงค์เจือในน้ำกาแฟได้ นอกจากฟิลเตอร์แบบกระดาษแล้ว
ยังมีฟิลเตอร์แบบตะแกรงทองเหลืองสานละเอียด ซึ่งสามารถถอดล้างทำความสะอาดได้
แต่มีราคาสูง
ขอขอบคุณรูปภาพจากอินเตอร์เน็ต
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น